สำนักงานทนายความ นิติศาสตร์หาดใหญ่ ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทร 084-1356583

  เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก       

 

 


คดีเล่นแชร์

 

 

 

 

            การเล่นแชร์ ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 หมายความว่า การที่บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้น ไปตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์ โดยแต่ละคนมีภาระที่จะส่งเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดรวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็น งวดๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูล หรือโดยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการรวมทุนในลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงด้วย

        การเป็นนายวงแชร์ หรือ จัดให้มีการเล่นแชร์

        มีข้อห้ามตามกฎหมายอย่างไรบ้าง  
       

ข้อห้ามตามกฎหมาย

        1. ห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์ หรือ จัดให้มีการเล่นแชร์ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนก็ห้ามด้วยเช่นกัน

        2. บุคคลธรรมดา ห้ามมิให้เป็นนายวงแชร์ หรือ จัดให้มีการเล่นแชร์

(สังเกตุ จะมีแต่หมายเลข 3

            2.1 ห้ามมิให้มีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน

            2.2 ห้ามมิให้เป็นนายวงแชร์ หรือ จัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่า 3 วง       

            2.3 ห้ามนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่า 300,000 บาท

            2.4 นายวง แชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์จะได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น นอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกองกลางในการเข้าร่วมเล่นแชร์ในงวดหนึ่งโดยไม่ ต้องเสียดอกเบี้ยเท่านั้น

        นอก จากนี้กฎหมายยังให้ถือว่าผู้ที่สัญญาว่าจะใช้เงิน หรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์ หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ เป็นนายวงแชร์ หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ด้วย ซึ่งเฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลไม่อาจสัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์หรือผู้ จัดให้มีการเล่นแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ได้ การที่สมาชิกวงแชร์เข้าร่วมเล่นแชร์กับบุคคลธรรมดาอันมีลักษณะต้องห้ามตาม ข้อ 2.1 , 2.2 , 2.3 และ 2.4 นั้น ไม่ทำให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดซึ่งสมาชิกส่งรวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็น งวดๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูล หรือโดยวิธีอื่นใดแล้วต้องเสียไปเปล่า สมาชิกวงแชร์สามารถฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัด ให้มีการเล่นแชร์ได้

        การโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์สามารถทำได้หรือไม่   การโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ไม่สามารถทำได้เพราะ ถ้าอนุญาตให้มีการโฆษณาชี้ชวนแล้วจะมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจ การใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในทางธุรกิจที่มีคำว่า “แชร์” หรือ คำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกันและรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ต้องห้ามตามกฎหมาย ในกรณีที่มีการประกาศของรัฐมนตรีแล้ว ให้ผู้ที่ใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำที่รัฐมนตรีประกาศอยู่แล้วใน มีวันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อดังกล่าวต่อไปได้ไม่ เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ

การเล่นแชร์กันก่อนที่กฎหมายประกาศ ใช้บังคับจะมีผลหรือไม่อย่างไร

        1. ผู้ ที่เป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์กันก่อนที่กฎหมายจะกำหนดข้อห้ามอาจ ดำเนินการดังกล่าวเฉพาะวงแชร์ที่ค้างอยู่ต่อไปได้จนกว่าจะเสร็จ แต่ต้องไม่เกินสองปี

        2. ใน กรณีที่เป็นนิติบุคคลและประสงค์จะดำเนินการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการ เล่นแชร์เฉพาะวงแชร์ที่ยังค้างอยู่ต่อไป ให้ยื่นรายการเกี่ยวกับกิจการการเล่นแชร์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบ วัน

        3. ถ้านิติบุคคลใดมีวัตถุประสงค์เป็นนายวงแชร์ให้นิติบุคคลยื่นคำขอต่อนายทะเบียนยกเลิกวัตถุประสงคืดังกล่าวภายใน
180 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับ เว้นแต่นิติบุคคลนั้นยังมีการเล่นแชร์ที่ค้างอยู่ให้นิติบุคคลนั้นดำเนินการ ยกเลิกวัตถุประสงค์ดังกล่าวอย่างช้าต้องไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวบังคับใช้

        4. สัญญา ที่นิติบุคคลสัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์หรือผู้จัด ให้มีการเล่นแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ก่อนที่กฎหมายนี้ใช้บังคับสามารถใช้ได้

        5. ผู้ที่ใช้ชื่อหรือแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำว่า “แชร์” อยู่แล้วในวันที่กฎหมายใช้บังคับให้ใช้ชื่อหรือคำแสดงดังกล่าวต่อไปได้ไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่เป็นผู้ที่มีวงแชร์ค้างอยู่ก็จะต้องดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี

การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการเล่นแชร์มีโทษแค่ไหนเพียงใด

        การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการเล่นแชร์ มีทั้งโทษปรับ และจำคุกแล้วแต่ลักษณะของความผิดที่น่ารู้มีดังต่อไปนี้

        1. การที่บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์ หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนมากกว่า 3 วง หรือมีสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน หรือมีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่า 300,000 บาท หรือนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์นั้นได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น นอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกองกลางในการเข้าร่วมเล่นแชร์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

        2. นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1 เท่า ถึง 3 เท่า ของทุนกองกลางแต่ละงวดของทุกวงแชร์ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท และให้ศาลสั่งให้นิติบุคคลนั้นหยุดดำเนินการเป็นนายวงแชร์หรือการจัดให้มีการเล่นแชร์

        3. ผู้ใดโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

        4. ใน กรณีที่นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์หรือสัญญาว่าจะใช้ เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงหรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์หรือสมาชิกวง แชร์ กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการจัดการหรือบริหารงานของนิติบุคคลนั้นต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลด้วย

        5. ผู้ใดใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำว่า “แชร์” หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน

        กล่าวโดยสรุป   พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534  เป็นกฎหมายควบคุมนายวงแชร์โดยห้ามนิติบุคคลเข้ามาเป็นนายวงแชร์ แต่มิได้ห้ามการเป็นลูกแชร์ หรือสมาชิกผู้เล่น สำหรับบุคคลธรรมดาที่เป็นนายวงแชร์นั้นกฎหมายได้บัญญัติข้อห้ามไว้  4  ประการข้างต้น  

        ตัวอย่าง   บริษัทร่ำรวยได้ชักชวนบริษัทรุ่งเรือง  รวม กันเป็นนายวงแชร์ลงประกาศโฆษณาเชิญชวนประชาชนมาร่วมเล่นแชร์ โดยให้บริษัทร่ำรวยเป็นนายวงแชร์มีกำหนดประมูลเดือนละครั้ง การกระทำดังกล่าวนี้เป็นความผิด เพราะกฎหมายห้ามนิติบุคคลเป็นนายวงแชร์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งถึงสามเท่าของทุนกองกลางในแต่ละงวด แต่ต้องไม่ต่ำกว่าสองแสนบาท และให้ศาลสั่งให้นิติบุคคลนั้นหยุดดำเนินการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการ เล่นแชร์

        ส่วน กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการจัดการหรือบริหารงานของ นิติบุคคลนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นด้วย

        ตัวอย่าง   นายคล้าว กับนางสาวทองกวาว ได้ร่วมกันตั้งวงแชร์ขึ้นหนึ่งวงมีสมาชิกรวมกันทั้งสิ้น  35 คน โดยจัดให้มีการประมูลเดือนละหนึ่งครั้งและแต่ละงวดจัดให้มีการประมูลรวมกัน ไว้งวดละห้าหมื่นบาท การกระทำของบุคคลทั้งสองเป็นความผิด เนื่องจากวงแชร์ที่ตั้งขึ้นมีสมาชิกรวมกันมากกว่าสามสิบคน  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

        ตัวอย่าง   แชร์ทอง ซึ่งเป็นแชร์ประเภททีสมาชิกประมูลไม่ได้เงินแต่จะได้รับเป็นทองคำ ตามจำนวนน้ำหนักที่ตกลงกันไว้แทน  โดย เมื่อเริ่มแรกหัวหน้าวงจะเก็บเงินสดจากสมาชิกทุก ๆคนๆ ละเท่า ๆกันและนำเงินดังกล่าวไปซื้อทองตามจำนวนน้ำหนักที่ตกลงกันไว้เพื่อส่งมอบให้ กับผู้ประมูลได้โดยสมาชิกทุกคนมีหน้าที่ต้องส่งเงินให้แก่นายวงหรือหัวหน้า วงทุกงวดซึ่งนายวงจะเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินที่ส่งและแจ้งให้ลูกวงทราบ เช่น

        นายวง คิดราคาทองคำในขณะเริ่มเล่นในราคาตลาดขณะนั้น 8,000 บาท มีสมาชิกร่วมเล่น 10 คน ถ้านายวงกำหนดให้ลูกวงจ่ายเงินคนละ 1,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกันทุกคนจะเป็นเงิน  10,000 บาทนายวงจะนำเงินไปซื้อทองคำหนักหนึ่งบาท ตามที่ตกลงกับลูกวงและมอบทองคำหนักหนึ่งบาทให้ลูกวงที่ประมูลได้ ส่วนนายวงจะมีกำไรทุกงวดโดยได้รับเงินส่วนที่เหลืองวดละ 2,000 บาท และนายวงจะขยายวงแชร์เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ

        การกระทำของนายวงที่ตั้งแชร์ทองขึ้นมาในกรณีนี้เป็นความผิด  เพราะกฎหมายบัญญัติห้ามนายวงรับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นนอกจากทุนกองกลางที่ได้รับโดยไม่เสียดอกเบี้ย ใน กรณีนี้นายวงได้รับประโยชน์อย่างอื่นนอกจากทุนกองกลางที่ไม่ต้องประมูลโดย ไม่เสียดอกเบี้ย ประโยชน์ที่ว่านี้คือเงินส่วนที่เหลือจำนวน  2,000 บาท ที่ได้รับจากลูกวงในแต่ละงวดนั้นเอง

        ตัวอย่าง   แชร์ดอกหักและดอกตาม นางปราณีตั้งวงแชร์มีลูกวง  20 มือ กำหนดเก็บเงินมือละ 2,000 บาท และจัดให้มีการประมูล (เปียร์แชร์)  ทุก เดือน ๆละครั้ง เมื่อกำหนดวันประมูล ลูกวงทุกคนจะมาพร้อมกันโดยทุกคนจะเขียนจำนวนดอกเบี้ยที่ตนประสงค์จะประมูล ให้แก่กองกลางลงในกระดาษปิดผนึกส่งให้นายวง เมื่อครบทุกคนนายวงจะเปิดดูกระดาษที่ลูกวงเสนอทุกคน ผู้ให้ดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดจะได้เงินกองกลางงวดนั้นไป  การ กระทำดังกล่าวนี้ไม่เป็นความผิดเพราะนางปราณีผู้เป็นนายวงมีจำนวนวงแชร์ไม่ มากกว่า 3 วง ลูกวงรวมกันแล้วไม่มากกว่า 30 คน มีทุนกองกลางรวมกันทุกวงไม่มากกว่า 300,000 บาท และไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นนอกจากกองทุนกลางที่ได้รับโดยไม่ ดอกเบี้ย

        พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิของสมาชิกวงแชร์ ว่า การร่วมเล่นของสมาชิกวงแชร์นั้นไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะ ฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์ หรือ จัดให้มีการเล่นแชร์  ดัง นั้นหากนายวงแชร์กระทำผิดดังกล่าวข้างต้น ลูกวงแชร์ก็สามารถว่ากล่าวเอาความโดยไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน (ตำรวจ) ให้ดำเนินคดีกับนายวงแชร์ได้ถึงแม้ผู้ที่ร้องทุกข์จะได้ร่วมเล่นเป็นสมาชิก วงแชร์นั้นด้วยก็ตาม

        อย่างไรก็ตามการเล่นแชร์โดยเฉพาะแชร์ดอกหักและดอกตามซึ่งเป็นประเภทวงแชร์ที่แพร่หลายที่สุด  แต่ มีปัญหามากที่สุด เพราะแชร์ประเภทนี้นายวงเพียงผู้เดียว เป็นผู้ถืออำนาจตัดสินใจคัดเลือกสมาชิกหรือลูกวงเข้าร่วมเล่นโดยลูกวงไม่ ค่อยมีโอกาสมีส่วนร่วมในการคัดเลือกสมาชิก ซึ่งปรากฏต่อมาว่านายวงหลบหนี ทำให้ลูกวงที่ได้ส่งหุ้นเสียหาย หรือ เกิดกรณีลูกวงที่ร่วมเล่นบางคนประมูล  (เปียร์แชร์)  ได้แล้วหลบหนี หรือไม่ยอมส่งหุ้นของตนให้กองกลาง ซึ่ง ในทางปฏิบัตินายวงจะต้องรับผิดชอบชดใช้แทนให้แก่ลูกวงคนอื่น ๆ แทน แต่ส่วนมากนายวงมักปฏิเสธความรับผิดชอบ ทำให้ลูกวงได้รับความเสียหาย จึงเป็นปัญหาว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร

        กรณีดังกล่าวไม่อาจนำพระราชบัญญัติการเล่นแชร์มาเอาผิดกับนายวงหรือลูกวงที่ฉ้อโกงได้เพราะไม่เข้าองค์ประกอบ  ดัง นั้น สมาชิกต้องใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งแทน อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาการถูกหลอกลวงฉ้อฉลของกลุ่มกลโกงคืออย่าเชื่อคน ง่าย ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาให้รอบคอบเพราะเราอาจรู้จักหน้าแต่ไม่อาจไม่รู้ใน จึงต้องระวังใจของตนเองไว้บ้างตามคติที่ว่า  “อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน”

 

เรา คงจะได้ยินคำว่า “แชร์” หรือเคยเล่นแชร์มาแล้ว และบางคนอาจเป็นหัวหน้าวงแชร์ และก็เคยถูกโกงแชร์มาบ้างแล้วก็ได้ ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2534 เรายังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการเล่นแชร์ ซึ่งการเล่นแชร์ในอดีตเกิดจากรวมกลุ่มของผู้คน จำนวนหนึ่ง มาร่วมนั่งคุยกัน ในการแก้ปัญหาของความเดือดร้อน ในเรื่องการเงิน ก็เลยคิดขึ้นได้ว่า เราน่าจะเอาเงินที่มีอยู่เล็กๆน้อยๆ มากองรวมกันแล้วมอบให้ กับคนที่มีความเดือดร้อน แล้ว

ค่อย เอามาคืนกันที่หลัง โดยมีการตกลงกันการตกลงนั้นก็ คือ สัญญา การสัญญานั้น ไม่ได้จดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นสัญญาให้กันโดยคำพูด เป็นเพราะคนสมัยก่อนเขารักษาคำพูด น่าคงเป็นเช่นนั้น เพราะสมัยก่อนถ้าหากกินข้าวบ้านใครแล้ว เขาถือว่าเป็นบุญคุณ มีวัวมีควายสักตัวเขาก็ไม่ลักไม่ขโมย ต่างกับสมัยนี้กินข้าวเสร็จ มันลักเอายางแผ่นไปเสียแล้ว และต่อมาการรวบรวมเงินก้อนที่ว่านั้น ได้มีการตั้งชื่อกันว่าเล่นแชร์ การคืนเงินก็มาปรับเปลี่ยนเป็น รายงวด เป็นเพราะไม่ต้องการให้คนที่ เอาเงินไปต้องมีความเดือดร้อน และสามารถผ่อนส่งได้ และที่เงินได้คืนมา ก็จะให้กับผู้เดือดร้อนรายต่อไป ต่อมาการพัฒนาการเล่นแชร์ ก็พัฒนามาเรื่อยๆ จนกระทั่งมีการปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นมากมาย ถึงเรื่องที่เกี่ยวกับการเล่นแชร์ เพราะระยะหลังๆผู้คนจะมีความเดือดร้อน ทางการเงินกันมากขึ้น ต่างคนต่างก็มีความประสงค์ ที่จะได้เงินก่อนใคร เมื่อถึงเวลานั้นทุกคนก็เลยมาคิดกันว่าต่อไปจะต้องมีการจับฉลาก เพื่อให้เกิดความยุติธรรม ได้ใครคนไหนก็คนนั้นเอาไป ก็เลยตกลงกันได้ และต่อมาการเล่นแชร์ ก็ได้ขยายวงการออกไปมาก จนเกิดการพัฒนาเรื่องของสวัสดิการเงินแชร์ ก็ เกิดขึ้น คือ ตกลงกันว่า ต่อไปใครจะเอาเงินแชร์ก็ต้องให้มีการประมูลหรือว่าเปีย ให้คนที่ประมูล หรือเปียได้ ต้องให้สวัสดิการ หรือดอกเบี้ย นี้คือสาเหตุของการเกิดดอกเบี้ยเงินแชร์ และนี่คือที่ไปที่มาของการเล่นแชร์ แต่ก่อน ปี พ.ศ.2534  พ.ร.บ.แชร์ยังไม่เกิด

ดัง นั้นการให้ ความหมาย การตีความ หรือความเข้าใจ จึงไม่ค่อยชัดเจน ดูแล้วคลุมเครือ ไม่แน่ไม่นอนตลอดมา ซึ่งหลังจากมีการล้มสลายของวงแชร์ต่างๆเป็นผลให้เศรษฐกิจของประเทศ พลอยทรุดโทรม ประชาชนก็ได้รับความเดือดร้อน จึงได้มีการพยายาม ให้ความหมายของคำว่า "แชร์" โดยดูเจตนาที่แท้จริง ในการเล่นแชร์ เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมา จนกระทั่งเมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2534 จึงได้มีการประกาศกฎหมาย เกี่ยวกับการเล่นแชร์ ก็คือพระราชบัญญัติแชร์ พ.ศ.2534 ลงในหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับใช้ เป็นกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา

(ผู้เสียหายคดีแชร์ลูกโซ่ ถอดเสื้อผ้าประท้วงหน้าสำนักงานอัยการ หลังถูกฉ้อโกงเงินไปหลายล้านบาท แต่คดีไม่มีความคืบหน้า นางหัทยา นราธิยวัฒน์ อายุ 33 ปี และ นางอังคณา ตรงดี อายุ 44 ปี พร้อมกลุ่มเพื่อนรวม 4 คน ผู้เสียหายในคดีแชร์ลูกโซ่ของบริษัทยาและกลุ่มเพื่อน เดินทางมายังสำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก เพื่อประท้วงการทำงานของอัยการ โดยการถอดเสื้ออยู่บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงาน หลังจากถูกโกงคดีแชร์จำนวนหลายล้านบาท โดยผู้เสียหายเล่าว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง ได้ตั้งบริษัทเวชภัณฑ์ยาและรับสมัครสมาชิกโดยการเล่นแชร์ลูกโซ่ จากนั้นได้ทำการฉ้อโกงเงินของผู้เสียหายกว่า 50 คน มูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท ซึ่งผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีจนผู้ต้องหาถูกจับกุมแต่ได้รับการ ประกันตัว ต่อมาได้ทำการข่มขู่พยานเพื่อไม่ให้ดำเนินคดี ซึ่งหากผู้เสียหายรายใดไม่ยินยอมก็จะเข้าแจ้งความในข้อหาหมิ่นประมาท จนทำให้ผู้เสียหายตกเป็นผู้ต้องหาเอง ซึ่งคดีนี้ยืดเยื้อมานานกว่า 3 ปี แต่ยังไม่ได้รับความคืบหน้าจึงมาประท้วงดังกล่าว อย่างไรก็ตามทางอัยการได้เจรจากับผู้เสียหายจนยินยอมใส่เสื้อผ้าและยุติการ ประท้วงในที่สุด)

 

การ ที่นายวงแชร์จัดให้เล่นแชร์ฝ่าฝืนกฎหมายก็เป็นเหตุให้นายวงแชร์มีความผิดตาม ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ไม่เป็นเหตุให้สมาชิกวงแชร์หลุดพ้นจากความรับผิดไม่ต้องใช้เงินแก่สมาชิก ที่ยังไม่ได้ประมูล

พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ฯ มาตรา 6 ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่ระบุไว้ ในมาตรา 6 และมีมาตรา 7 ให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ฝ่ายเดียวที่จะฟ้องคดี หรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่ฝ่าฝืน มาตรา 6 ไว้ เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันหาได้มีบทบัญญัติ ห้ามเล่นแชร์ไม่ ทั้งการเล่นแชร์เป็นสัญญาเกิดจากการตกลงกันระหว่าง ผู้เล่นที่จะชำระเงินให้แก่ผู้ประมูลแชร์ได้ จึงมีผลผูกพันและบังคับกันได้ ตามกฎหมาย การที่ผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้ก่อนนำเช็คของจำเลย มาชำระให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ได้ การชำระหนี้ค่าแชร์ดังกล่าว จึงหาเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2543

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ 30 ตุลาคม 2539จำนวน 150,000 บาท แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าแชร์ แต่เมื่อเช็คถึงกำหนดเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 159,375 บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน150,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การ ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย มูลหนี้ตามเช็คระงับไปแล้ว และเป็นมูลหนี้ที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการ เล่นแชร์ พ.ศ. 2534 ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 150,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2539 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้อง (วันที่ 1 กันยายน 2540) ต้องไม่เกิน 9,375 บาท

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดี มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเฉพาะข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า การชำระหนี้ค่าแชร์ตามฟ้องเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยข้อกฎหมายจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในศาล อุทธรณ์ว่า โจทก์และสามีจำเลยเป็นลูกวงแชร์ โดยมีนายชัชรินทร์ สุทธิภักดีเป็นนายวงแชร์ สามีจำเลยประมูลแชร์ไปได้ก่อน โจทก์สั่งจ่ายเช็คให้ตามข้อตกลงในการเล่นแชร์ ต่อมาโจทก์มีสิทธิได้เงินค่าแชร์ในงวดสุดท้าย จำเลยสั่งจ่ายเช็คธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสีลม ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2539 จำนวนเงิน 150,000 บาท มอบให้แก่สามีจำเลยแล้วสามีจำเลยนำไปมอบให้แก่นายวงแชร์ และนายวงแชร์ได้สลักหลังส่งมอบเช็คดังกล่าวให้โจทก์ตามข้อตกลง แต่เมื่อเช็คถึงกำหนดชำระโจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาพลับพลาไชย เพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน และวงแชร์รายนี้มีทุนกองกลางเป็นจำนวนเงิน 1,800,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.3 เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้

(1) เป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวง

(2) มีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่าสามสิบคน

(3) มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง สามแสนบาท

ฯลฯ คดีนี้แม้นายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์โดยมีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกัน มากกว่าสามแสนบาท ซึ่งมากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการ เล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6(3) ก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวคงมีบทบัญญัติตามมาตรา 7 เท่า นั้นที่ให้สิทธิแก่ฝ่ายสมาชิกวงแชร์ฝ่ายเดียวที่จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียก ร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 6 ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์พ.ศ. 2534 หา ได้บทบัญญัติห้ามเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่ ทั้งการเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง อันเกิดจากการตกลงกันระหว่างผู้เล่นที่จะชำระเงินให้แก่ประมูลแชร์ได้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อสามีจำเลย ซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้ก่อนแล้วมีหน้าที่ผูกพันตามข้อตกลงต้องชำระเงิน คืน โดยสามีจำเลยนำเช็คที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมอบไว้แก่นายวงแชร์เพื่อส่ง มอบให้แก่ลูกวงแชร์ที่จะประมูลแชร์ได้ในงวดต่อ ๆ ไป เช็คดังกล่าวของจำเลยจึงมีมูลหนี้ตามสัญญาเล่นแชร์ดังกล่าวอันบังคับได้ ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ได้รับเช็คพิพาทที่จำเลยลงลายมือ ชื่อสั่งจ่ายจากนายวงแชร์และเรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงิน ตามเช็คให้แก่โจทก์ การชำระหนี้ค่าแชร์ตามฟ้องหาเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตามฎีกาของ จำเลยไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

 

 

 

 

 

 

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  157,030
Today:  34
PageView/Month:  800

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com